มาตาไว: การเล่าเรื่องโดยใช้สถานที่เป็นฐานในซูรินาม

.มาตาไวของซูรินาม เป็นชุมชนหนึ่งที่เคยรู้สึกว่าถูกคนทั้งโลกลืมไปแล้วกำลังก้าวไปอีกขั้นด้วยแนวทางใหม่โดยการใช้แอปพลิเคชั่นการเล่าเรื่องทางภูมิศาสตร์แบบแหล่งเปิดที่เรียกว่า เทอราสตอรี่ (Terrastories) เพื่อสร้างคลังความมรู้ดั้งเดิมที่ไม่ธรรมดาผ่านการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ด้วยปากเปล่า เป้าหมายของงานคือเพื่อให้แน่ใจว่าคนรุ่นต่อไปของมาตาไวจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ในแบบที่คนของพวกเขามีอยู่เสมอ:ผ่านคำพูดของผู้อาวุโส

Morning view of Nieuw Jacobkondre, Upper Saramacca River. Photo Credit: MediaVision N.V.
Morning view of Nieuw Jacobkondre, Upper Saramacca River. Photo Credit: MediaVision N.V.

มาตาไว มารูนส์ คือใครและเหตุใดประวัติศาสตร์ของพวกเขาจึงสำคัญสำหรับพวกเขา

มาตาไว ของซูรินาม เป็นชุมชนหนึ่งที่เคยรู้สึกว่าถูกคนทั้งโลกลืมไปแล้วกำลังก้าวไปอีกขั้นด้วนแนวทางใหม่โดยใช้แอปพลิเคชั่นการเล่าเรื่องทางภูมิศาสตร์แบบแหล่งเปิดใหม่เพื่อสร้างคลังแห่งความรู้ดั้งเดิมที่ไม่ธรรมดาผ่านการ เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ด้วยปากเปล่า เป้าหมายของงานคือเพื่อให้แน่ใจว่าคนรุ่นต่อไปของมาตาไวจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ในแบบที่คนของพวกเขามีอยู่เสมอ: ผ่านคำพูดของผู้อาวุโส

เรื่องราวของมาตาไวเป็นเรื่องราวที่เริ่มขึ้นเมื่อสามศตวรรษก่อนเมื่อซูรินามเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ แทนที่จะต้องทนกับชีวิตที่โหดร้ายและถูกลงโทษจากการถูกจองจำบนพื้นที่เพาะปลูกริมชายฝั่งของอาณานิคม
ชาวแอฟริกันจำนวนหนึ่งที่ถูกบังคับให้เป็นทาสได้กำหนดชะตาชีวิตของพวกเขาเองและได้หลบหนีเข้าไปในป่าฝนที่หนาแน่นของพื้นที่ตอนในที่กว้างขวางของประเทศ กลุ่มผู้หลบหนีได้หลบหนีไปตามแม่น้ำที่สูงชันมากขึ้นนำพวกเขาไปทางใต้ให้ไกลที่สุดเท่าที่ทำได้ พวกเขาหลบหนีและต่อสู้กับทหารเนเธอร์แลนด์ที่พยายามจะจับพวกเขากลับคืนมา เริ่มปฏิบัติการจู่โจมเพื่อปลดปล่อยผู้อื่นจากการเป็นทาส และในที่สุดก็บังคับให้รัฐบาลอาณานิคมต้องลงนามในข้อตกลงสันติภาพกับพวกเขา กลุ่มต่างๆของทาสที่เคยหลบหนีเหล่านี้ได้ตั้งตนอยู่ในใจกลางภายในของ

ซูรินามที่ซึ่งลูกหลานของพวกเขายังคงอาศัยอยู่จนถึงทุกวันนี้ สมาชิกของชุมชนเหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนาม

มารูนส์ภูมิใจบรรยายถึงวันแรกที่บรรพบุรุษของพวกเขาเข้ามาตั้งรกรากและต่อสู้เพื่อดินแดนดั้งเดิมของพวกเขาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อันโดดเด่นของพวกเขา 

หนึ่งในกลุ่มมารูนส์ที่เล็กที่สุดกลุ่มหนึ่งมาตาไวซึ่งอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสารามาคคาในภาคกลางของซูรินาม สำหรับมาตาไวการอยู่รอดในป่าฝนขึ้นอยู่กับความรู้ที่ใกล้ชิดเกี่ยวกับอาณาเขตของพวกเขาซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษของพวกเขาเสมอ เรื่องราวตามสถานที่ช่วยให้พวกเขาทราบได้ว่าอาหารหรือแหล่งทรัพยากรอยู่ที่ไหน หรือที่ใดมีอันตรายซ่อนอยู่ สิ่งสำคัญที่สุดคือประวัติศาสตร์ปากเปล่าช่วยเสริมความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกับบ้านเกิดเมืองนอน ซึ่งจะแจ้งอัตลักษณ์ส่วนรวมและส่งเสริมให้พวกเขาปกป้องสิ่งแวดล้อม

Photo credit: MediaVision N.V.

เหตุใดมาตาไวจึงเริ่มทำแผนที่ที่ดินและบันทึกประวัติศาสตร์ของพวกเขา

เมื่อสองสามปีก่อน ดินแดนมาตาไวเป็นหนึ่งในดินแดนที่ห่างไกลที่สุดในประเทศสามารถเข้าถึงได้โดยทางเรือหรือเครื่องบินขนาดเล็กเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการขุดทองในลุ่มน้ำที่ลุกลามและทำลายล้าง เสาโทรศัพท์ใหม่  และการสร้างเครือข่ายถนนที่ให้บริการการทำไม้และเชื่อมต่อหมู่บ้านมาตาไวจำนวน 21 หมู่บ้าน ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง

ในภูมิประเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปนี้ ชาวมาตาไววัยหนุ่มสาวกำลังหางานทำในเหมืองทองคำหรือออกไปทำงานและใช้ชีวิตที่ทันสมัยมากขึ้นในเมืองหลวงปารามาริโบ

หมู่บ้านมาตาไวหลายแห่งมีความว่างเปล่าและอ้างว้างสำหรับพวกเขา โดยมีมาตาไวเพียงไม่กี่แห่งที่ยังคงใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ผู้อาวุโสที่เหลือมักจะคร่ำครวญว่าเยาวชนสนใจโทรศัพท์มากกว่าประวัติศาสตร์ของพวกเขาเอง และเลิกเล่าเรื่องราวกับคนรุ่นใหม่ ด้วยเหตุนี้ ประเพณีมาตาไวที่มีมายาวนานด้วยการนั่งเล่นและแลกเปลี่ยนเรื่องราวของโฟซิเทนมาอย่างยาวนาน (หมายถึง “ครั้งแรก”ที่บรรพบุรุษของพวกเขามาถึงดินแดนเหล่านี้) มีความเสี่ยงที่จะสูญหายในเวลานี้

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น องค์กรชุมชนท้องถิ่นสติชติ้ง วู ดอร์ปสันสวิกเคลลิ่ง มาตาไว  ได้ใช้เวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในการบันทึกเรื่องราวประเพณีของพวกเขาโดยใช้เครื่องบันทึกวิดีโอและแผนที่แบบปฏิสัมพันธ์ ด้วยการสนับสนุนจากทีมอนุรักษ์อเมซอน องค์กรฯได้อบรมทีมมาตาไวที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจเพื่อบันทึกและสัมภาษณ์ผู้อาวุโสเกี่ยวกับสถานที่ที่มีชื่อเสียงและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั่วดินแดนบรรพบุรษของพวกเขา

จนถึงปัจจุบัน ความคิดริเริ่มนี้ได้สร้างภาพวิดีโอกว่า 17 ชั่วโมงเกี่ยวกับสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่า 150 แห่ง ตามแม่น้ำสารามาคคา สำหรับคนรุ่นใหม่ของมาตาไวจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ได้นำโอกาสที่แท้จริงครั้งแรกของพวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์บ้านเกิดของพวกเขา โจเซฟ เด็นเนิร์ท

ผู้อาวุโสของมาตาไวสะท้อนถึงโครงการนี้ว่า “…นักปราชญ์ภายใน [ของฉัน] นอนหลับอยู่ตลอดเวลา แต่แล้วฉันก็รู้ว่ายังไม่สายเกินไป ฉันต้องติดตามพวกเขาและในที่สุดก็ใช้ความรู้ของฉัน”

Photo credit: Amazon Conservation Team

งานนี้นำมาตาไวไปยังหอจดหมายเหตุสมิธโซเนี่ยนได้อย่างไร

ความพยายามที่จะบันทึกและรักษาประวัติศาสตร์ปากเปล่าของชุมชนทำให้มาตาไวแสวงหาการสนับสนุนจากสถาบันหลายแห่ง ซึ่งบางแห่งอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดของตนมาก ในเดือนกันยายน 2561 เด็นเนิร์ท พร้อมด้วยมาตาไวอีกสองคนเดินทางไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.เพื่อค้นหาเอกสารของ เอ็ดเวิร์ด ซี กรีน ที่สถาบันสมิธโซเนี่ยน กรีน นักมานุษยวิทยาได้รวบรวมบันทึกภาคสนาม ภาพถ่าย และการบันทึกเสียงที่บันทึกไว้ระหว่างที่เขาอยู่กับมาตาไวในช่วงต้นทศวรรษ 1970 และเพิ่งบริจาคสิ่งเหล่านี้ให้กับหอจดหมายเหตุมานุษยวิทยาแห่งชาติสมิธโซเนียน นักวิจัยมาตาไวสามคนได้รับการสนับสนุนจาก “โครงการการกู้คืนเสียง”ของสถาบันสมิธโซเนี่ยนสามารถเข้าถึงเอกสารทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าเหล่านี้ได้เป็นครั้งแรก และได้รับอนุญาตให้นำสำเนากลับคืนเพื่อแบ่งปันกับคนอื่นๆในชุมชนของตน ในตอนท้ายของประสบการณ์ บาสจา (ผู้นำแบบดั้งเดิม) และผู้เข้าร่วมการวิจัย ทีน่า เฮ็นคี ได้สะท้อนเกี่ยวกับกระบวนการ:

“นักมานุษยวิทยาเหล่านี้เขียนสิ่งต่างๆในขณะที่คนของฉันในตอนนั้นไม่สามารถเขียนได้ แต่พวกเขาเล่าเรื่องแล้วนักมานุษยวิทยาก็บันทึกไว้ และตอนนี้ที่ผู้คนไม่อยู่กับเราแล้ว เราก็ควรจะสามารถหาเรื่องราวได้จากที่ไหนสักแห่ง และนั่นคือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เอกสารนี้ ฉันพยายามจินตนาการว่าบรรพบุรุษของฉันมีชีวิตอยู่อย่างไรในตอนนั้น และนั่นทำให้ฉันรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นมาตาไวเพราะมันช่วยให้ฉันรู้ถึงรากเหง้าของฉัน”

Photo credit: Amazon Conservation Team

การพัฒนา Terrastories

เพื่อเปิดใช้งานการบันทึกประวัติศาสตร์ปากเปล่าและการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์กับแผนที่ของบ้านเกิดของ บรรพบุรุษ ทีมอนุรักษ์อเมซอนได้ร่วมมือกับแม็บบ็อก บริษัทเทคโนโลยีการทำแผนที่และ รูบี้ ฟอร์กู๊ด ทีมนักพัฒนาอาสาสมัครเพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นการเล่าเรื่องแนวใหม่ที่เรียกว่า Terrastories  

ผิวหน้าที่อยู่ระหว่างสองส่วนของแอปพลิเคชั่นประกอบด้วยแผนที่แบบปฏิสัมพันธ์และแถบด้านข้างที่มีเนื้อหาสื่อและเรื่องราว การใช้ระบบจัดการเนื้อหามาตาไวสามารถเพิ่มสถานที่สำคัญและเรื่องราวลงในแผนที่ และกำหนดการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของเนื้อหาต้นฉบับได้ Terrastoriesทำงานได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและรหัสนี้เป็นแหล่งเปิดเพื่อให้ชุมชนใดๆในโลกสามารถปรับให้เข้ากับแผนที่ประเพณีการเล่าเรื่องตามสถานที่ของตนเองได้

Terrastories เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับชุมชนในการทำแผนที่ ปกป้อง และแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับดินแดนของพวกเขา บุคคลหรือชุมชนที่ต้องการเชื่อมต่อเนื้อเสียงหรือวิดีโอกับสถานที่ต่างๆบนแผนที่ได้ สามารถใช้มันได้ ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและสนุกกับการปฏิสัมพันธ์ ทำให้สมาชิกในชุมชนสามารถสำรวจได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องมีพื้นฐานทางเทคนิคใดๆ เรียนรู้เพิ่มเติม: Terrastories: เครื่องมือสำหรับการเล่าเรื่องบนฐานของสถานที่

ในเดือนตุลาคม 2561 ในเมืองปารามาริโบ องค์กรชุมชนท้องถิ่นสติชติ้ง วู ดอร์ปสันสวิกเคลลิ่ง มาตาไว ได้นำเสนอ Terrastories ชุดหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวและแผนที่ของมาตาไวต่อหน้าผู้ชมของสมาชิกชุมชนมารูนส์ ผู้นำแบบดั้งเดิม และเจ้าหน้าที่ของรัฐซูรินาม โครงการนี้ได้กระตุ้นให้เกิดการสนทนาระดับชาติเกี่ยวกับการยอมรับและปกป้องวัฒนธรรมมารูนส์ของซูรินามว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

Photo credit: Amazon Conservation Team
Photo credit: Judith Andrews

กระบวนการทำแผนที่ประวัติศาสตร์ด้วยปากเปล่าของมาตาไว

ณ ปี 2563 ทีมทำแผนที่ประวัติศาสตร์ด้วยปากเปล่ามาตาไวได้เสร็จสิ้นขั้นตอนต่อไปนี้กับ 10 หมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ตอนบนของแม่น้ำสารามาคคา

องค์ประกอบ:

ผู้คน: หนึ่งในแง่มุมที่สำคัญที่สุดที่ชี้นำโครงการนี้ตลอดคือความปรารถนาและความกระตือรือร้นในนามของมาตาไวที่จะส่งต่อประวัติศาสตร์อันล้ำค่าที่สุดของพวกเขาไปยังเยาวชน และรับรองว่าคนรุ่นต่อไปจะสามารถเข้าถึงความรู้นั้นและเข้าใจรากเหง้าของพวกเขาและพวกเขามาจากไหน ความปรารถนานี้เกิดขึ้นจากความซาบซึ้งและภาคภูมิใจในการต่อสู้ดิ้นรนของบรรพบุรุษเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิที่จะดำรงอยู่ในฐานะประชาชนอิสระในป่าฝน

Photo credit: MediaVision N.V.

ค่านิยม: ความเป็นอิสระเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของโครงการนี้ โดยองค์กรที่อิงตามชุมชนมาตาไวเป็นผู้นำในการออกแบบโครงการ และนำแนวคิดและแผนงานให้กับชุมชน และระบุผู้อาวุโสและผู้รักษาความรู้ องค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องมีบทบาทสนับสนุนมากขึ้นและทำงานร่วมกับสมาชิกชุมชนของมาตาไวเสมอ ซึ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์แห่งความไว้วางใจ นอกจากนี้ การเป็นเจ้าของข้อมูลในพื้นที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับโครงการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความสัมพันธ์กับมาตาไวที่มีความสามารถในการกำหนดว่าใครสามารถเข้าถึงเรื่องราวและแผนที่ได้ ค่านิยมเหล่านี้ยังบอกถึงการพัฒนาของ Terrastories

Photo credit: Amit Madheshiya.
เทคโนโลยี: 
  • กระดาษแผ่นใหญ่ ปากกามาร์กเกอร์สี
  • อุปกรณ์พกพาระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (การ์มิน 64)
  • สมุดบันทึกที่ทนทานต่อสภาพอากาศ
  • แล็ปท็อปและไดร์ฟ์สำรอง
  • โปรเจ๊กเตอร์แบบพกพาน้ำหนักเบา เพื่อให้คนทั้งหมู่บ้านสามารถตรวจสอบแผนที่ในขณะที่กำลังผลิต และชมวิดีโอประวัติบุคคล
  • เครื่องบันทึกเสียง (ซูม เอช 6 เอ็น)
  • เครื่องบันทึกวิดีโอ (แคนนอนเรเบล ที3ไอ)
  • ซอฟต์แวร์จีไอเอส และการทำแผนที่ อาร์คจีไอเอส แม็บบ็อกสตูดิโอ
  • ซอฟต์แวร์การออกแบบ:อโดบี อิน ดีไซน์
  • ซอฟต์แวร์ตัดต่อวิดีโอ:อโดบี พรีเมียร์
  • คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ออฟไลน์สำหรับ Terrastoriesr

ทรัพยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการและการเดินทาง:

  • เรือ เชื้อเพลิง และอาหาร
  • ชุดอุปกรณ์เดิน รองเท้าบูทยาง เป้ กันซึม เป็นต้น
  • พิมพ์แผนที่ฉบับร่างของครูตัส (การประชุมเชิงปฏิบัติการ) ในแต่ละหมู่บ้านมาตาไว

ณ ปี 2562 มาตาไวได้บันทึกภาพกว่า 17 ชั่วโมงของภาพผู้สูงอายุในชุมชนจำนวน 35 คน ซึ่งประกอบด้วยเรื่องราว 150 เรื่อง กว่า 300 แห่งในดินแดนบรรพบุรษของพวกเขา พวกเขายังได้จัดทำแผนที่ชื่อสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์กว่า 700 ชื่อในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่น้ำสารามาคคาซึ่งเป็นดินแดนของพวกเขา 

ข้อตกลงชุมชน: นำโดยองค์กรชุมชนท้องถิ่นสติชติ้ง วู ดอร์ปสันสวิกเคลลิ่ง มาตาไว องค์กรที่เกี่ยวข้องในโครงการได้บรรลุข้อตกลงและได้รับอนุญาตจากผู้นำมาตาไวดั้งเดิมเพื่อเริ่มโครงการแต่ละฝ่าย--สติชติ้ง วู ดอร์ปสันสวิก เคลลิ่ง มาตาไวและทีมอนุรักษ์อเมซอน-ซูรินาม ต่างตกลงกันเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบของพวกเขา

Photo credit: MediaVision N.V.

การทำร่างแผนที่: ในปี 2558 โครงการเริ่มต้นด้วยครูตัส (การประชุมเชิงปฏิบัติการ) ในหมู่บ้านที่สมาชิกในชุมชนวาดและใส่คำอธิบายประกอบแผนที่ว่างเปล่าของแม่น้ำสารามาคคาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับภูมิทัศน์ นักภูมิศาสตร์จากทีมอเมซอนรวบรวมข้อมูลลงในแผนที่จีไอเอส โดยใช้อาร์คจีไอเอส ซึ่งทำหน้าที่เป็นชุดแรกของแผนที่ดินแดนของบรรพบุรุษมาตาไว

Photo credit: Amazon Conservation Team

การฝึกอบรมระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกและการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับที่ดิน: สมาชิกในชุมชนทั้งชายและหญิงได้รับการฝึกอบรมจากทีมอนุรักษ์อเมซอนให้ใช้เครื่องระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกแบบใช้มือถือเพื่อบันทึกข้อมูลเชิงพื้นที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดิน เช่น เส้นทาง/กิจกรรมล่าสัตว์ เกษตรกรรม หรือการเก็บเกี่ยวทรัพยากร ในระหว่างระยะนี้ ข้อมูลบางส่วนที่วาดบนแผนที่กระดาษในขั้นต้นจะถูกบันทึกด้วยความแม่นยำมากขึ้นโดยใช้หน่วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

Photo credit: Amazon Conservation Team

การสำรวจภาคสนาม: ในช่วง 2 โอกาสในปี 2558 และ 2560 ทีมแผนที่ (ประกอบด้วยเยาวชนมาตาไว ผู้อาวุโสมาตาไว และนักภูมิศาสตร์จากทีมอนุรักษ์อเมซอน) เดินทางขึ้นและลงแม่น้ำสารามาคคาเป็นเวลาหลายสัปดาห์โดยใช้หน่วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกเพื่อทำแผนที่สถานที่สำหรับลำธาร แก่ง เกาะ ที่ตั้งหมู่บ้านเดิม โบราณสถาน แหล่งรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติ และสถานที่สำคัญอื่นๆ ทีมอนุรักษ์อเมซอนใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงแผนที่ใน ArcGIS.

Photo credit: Amazon Conservation Team

การตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่: หลังจากขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ นักภูมิศาสตร์ของ ทีมอนุรักษ์อเมซอนใช้อาร์คจีไอเอสเพื่อรวบรวมแผนที่อาณาเขตมาตาไวและในหลายครั้งองค์กรชุมชนท้องถิ่น สติชติ้ง วู ดอร์ปสันสวิกเคลลิ่ง มาตาไวจัดครูตัส (การประชุมเชิงปฏิบัติการ) ซึ่งสมาชิกในชุมชนให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล ข้อผิดพลาดในการสะกดหรือการตั้งชื่อ และสถานที่ที่ยังไม่ได้ทำแผนที่ ร่างแผนที่ดินแดนบรรพบุรุษที่ครอบคลุมจะสิ้นสุดในปลายปี 2560

Photo credit: Amazon Conservation Team

การบันทึกประวัติปากเปล่า: ระหว่างขั้นตอนสุดท้ายของการทำแผนที่ ทีมงานเริ่มบันทึกประวัติศาสตร์ด้วย ปากเปล่ากับผู้สูงอายุที่เป็นผู้เก็บความรู้และคุ้นเคยกับประวัติศาสตร์ของมาตาไวตามที่บรรพบุรุษเล่าให้พวกเขาฟัง ตั้งแต่ปี 2560 ถึงปี 2561 ที่งานสามารถบันทึกการสนทนากับผู้สูงอายุจำนวน 33 คน จากหมู่บ้านมาตาไว ริมแม่น้ำสารามาคคาและอาศัยอยู่ในเมืองหลวงของปารามาริโบ

Photo credit: Amazon Conservation Team

การออกแบบและการพิมพ์แผนที่: ในปี 2561 ทีมอนุรักษ์อเมซอนได้ทำแผนที่สำหรับดินแดนบรรพบุรษมาตาไวโดยใช้อาร์คจีไอเอสและอโดบี อิน ดีไซน์ แผนที่หล่านี้ถูกพิมพ์และส่งไปให้ยังแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งมักถูกจัดแสดงใน คูตู วอโซ (หอประชุม)

Photo credit: Amazon Conservation Team

การสร้าง Terrastories: นักภูมิศาสตร์ของทีมอนุรักษ์อเมซอนร่วมมือกับทีมนักพัฒนาอาสาสมัครเพิ่มเติม Terrastories ด้วยแผนที่มาตาไวและประวัติศาสตร์ปากเปล่า ในการดำเนินการดังกล่าว แผนที่จะถูกอัปโหลดไปยัง แม็บบ็อกสูตดิโอ   และดาวน์โหลดเป็นชื่อของแผนที่เพื่อทำงานแบบออฟไลน์ แอปพลิเคชั่น Terrastories พร้อมแผนที่และเรื่องราวมาตาไวถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถทำงานแบบออฟไลน์ได้ หลายครั้งทีมงานได้นำสิ่งเหล่านี้ไปยังหมู่บ้านมาตาไวตอนกลางสองแห่งของปูสักนู และนิวอู จาคอบคอนเดร และนำเสนอประวัติและแผนที่โดยวาจาต่อชุมชน โรงเรียนของรัฐ และความเป็นผู้นำแบบดั้งเดิม

Photo credit: Amit Madheshiya.

การให้บริการ Terrastories แบบออฟไลน์: คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสองเครื่องติดตั้ง Terrastories และเนื้อหามาตาไวและบริจาคให้กับโรงเรียนของรัฐในหมู่บ้านมาตาไวของปูสักนู และนิวอู จาคอบคอนเดร โรงเรียนต่างๆถูกเรียกเก็บเงินด้วยการเก็บรักษาข้อมูลและการเข้าถึงการบริหารจัดการ ในขณะที่ชุมชนยังคงหาแนวทางการอนุญาตสำหรับแต่ละเรื่องราวนำโดยองค์กรชุมชนท้องถิ่นสติชติ้ง วู ดอร์ปสันสวิกเคลลิ่ง มาตาไว

การอ่านและการชมเพิ่มเติม: